การทำแท้ง
การแท้ง คือการยุติการตั้งครรภ์ที่ระยะใดก็ตามที่ไม่ทำให้เกิดการเกิดรอด
มักจะหมายถึงการยุติการตั้งครรภ์โดยการขับหรือนำเอ็มบริโอหรือทารกในครรภ์ออกจากมดลูกก่อนที่เอ็มบริโอหรือทารกในครรภ์นั้นจะสามารถอยู่รอดได้
การแท้งอาจเกิดขึ้นเองหรือเกิดจากการทำแท้งด้วยสารเคมีหรือศัลยกรรมก็ได้
การทำแท้งส่วนใหญ่กระทำโดยสูตินรีแพทย์ โดยสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิดสามารถแท้งได้
การทำแท้งอย่างถูกกฎหมายในประเทศที่พัฒนาแล้วเป็นหัตถการหนึ่งในทางการแพทย์ที่ปลอดภัยมาก
การทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย(เช่น
ทำโดยผู้ที่ไม่ได้รับการอบรมฝึกฝนมาอย่างถูกต้อง)ทำให้มารดาเสียชีวิตถึง 70,000 ราย และทุพพลภาพ ถึง 5,000,000
รายจากทั่วโลก ในแต่ละปีมีการทำแท้งเกิดขึ้น 42,000,000 ครั้งทั่วโลก โดยในจำนวนนี้มีถึง 20,000,000 ครั้งที่ทำโดยไม่ปลอดภัย
มีเพียงร้อยละ 49 ของประชากรหญิงทั่วโลกที่เข้าถึงการทำแท้งเพื่อการรักษาและการทำแท้งโดยสมัครใจในอายุครรภ์ที่เหมาะสม
ประเภทของการทำแท้ง
การทำแท้ง
ในแต่ละปีมนุษย์ทั่วโลกมีการตั้งครรภ์ 205 ล้านครั้ง
มากกว่าหนึ่งในสามเกิดขึ้นโดยไม่ได้วางแผนและประมาณหนึ่งในห้าสิ้นสุดด้วยการทำแท้ง
การทำแท้งส่วนมากเกิดในการตั้งครรภ์ที่ไม่ได้วางแผน
การทำแท้งสามารถทำได้หลายวิธีการตามความเหมาะสมของอายุครรภ์ที่แปรผันตามขนาดตัวเอ็มบริโอหรือทารกในครรภ์ วิธีการที่เหมาะสมอาจจะต่างไปตามแต่ความนิยมของแพทย์และผู้ป่วย
ความจำกัดในแต่ละท้องที่และตามกฎหมายบัญญัติได้
การทำแท้งมีข้อบ่งชี้เพื่อการรักษาและตามความสมัครใจ
การทำแท้งเพื่อการรักษาหมายถึงการทำแท้งที่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์เพื่อรักษาชีวิตและสุขภาพกายและจิตของมารดา
ยุติการตั้งครรภ์ทารกที่มีความเสี่ยงที่จะทุพพลภาพ
เจ็บป่วย หรือตายก่อนกำหนด
หรือเพื่อลดจำนวนทารกในครรภ์ในกรณีการตั้งครรภ์แฝดเพื่อลดความเสี่ยงทางสุขภาพ
ส่วนการทำแท้งตามความสมัครใจหมายถึงการทำแท้งที่ไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์และเป็นไปตามความประสงค์ของสตรี
การแท้งเอง
การแท้งเองคือการแท้งที่เกิดขึ้นโดยไม่เจตนา โดยมดลูกขับเอ็มบริโอหรือทารกในครรภ์ออกก่อนอายุครรภ์ครบ 20 หรือ 22 สัปดาห์ การตั้งครรภ์ที่สิ้นสุดก่อนอายุครรภ์ครบ 37 สัปดาห์
และเกิดรอดเป็นทารกเรียกว่าการคลอดก่อนกำหนด แต่หากทารกในครรภ์เสียชีวิตในขณะคลอดหรือก่อนคลอดจะเรียกว่าทารกตายคลอด ทั้งการคลอดก่อนกำหนดและทารกตายคลอดไม่ถือว่าเป็นการแท้งเอง
ร้อยละ 30 ถึงร้อยละ 50 ของการปฏิสนธิอยู่รอดถึงไตรมาสแรก
ในขณะที่ส่วนที่เหลือแท้งไปตั้งแต่ผู้หญิงยังไม่ทราบว่าตนตั้งครรภ์
และมีการตั้งครรภ์หลายครั้งที่แท้งไปก่อนที่แพทย์จะตรวจพบเอ็มบริโอ
การตั้งครรภ์ที่ตรวจพบแล้วจะสิ้นสุดด้วยการแท้งเองถึงร้อยละ 15-30 ตามสุขภาพและอายุของสตรีที่ตั้งครรภ์ เหตุการแท้งเองส่วนใหญ่(ร้อยละ 50)ในช่วงไตรมาสแรก คือ ความผิดปกติของโครโมโซมของเอ็มบริโอหรือทารกในครรภ์ สาเหตุอื่นๆในมารดาได้แก่
โรคทางระบบเส้นเลือด(เช่นโรคลูปัส) เบาหวาน ความผิดปกติของฮอร์โมน การติดเชื้อ
และความผิดปกติของมดลูก
ประวัติการตั้งครรภ์เมื่ออายุมากและประวัติการแท้งเองในอดีตเป็นสองปัจจัยเสี่ยงสำคัญในการแท้งเอง
การแท้งเองอาจจะเกิดขึ้นจากอุบัติเหตุต่อร่างกายหรือความเครียด
การจงใจก่อความเครียดหรือความรุนแรงเพื่อการแท้งเองถือเป็นการทำแท้งหรือการทำลายทารกในครรภ์
วิธีการทำแท้ง
การทำแท้งด้วยยา
การทำแท้งด้วยยาคือการทำแท้งที่ไม่ใช้ศัลยกรรมแต่ใช้ยาที่เรียกว่า
"ยาแท้ง" การทำแท้งด้วยยาคิดเป็นร้อยละ 13
ของการทำแท้งทั้งหมดในสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2548 โดยเพิ่มเป็นร้อยละ 17 ในปี พ.ศ. 2553 สูตรยาผสมที่ใช้ในการทำแท้งประกอบด้วยยาเมโธเทร็กเสท(methotrexate)หรือไมฟิพริสโตน(mifepristone) ตามด้วยการใช้ยากลุ่มพรอสตาแกลนดิน
คือยามิโซโพรสตอล(misoprostol : เป็นยาที่ใช้ในสหรัฐอเมริกา)
หรือยาแกมีพรอสต์( gemeprost : เป็นยาที่ใช้ในสหราชอาณาจักรและสวีเดน)
เมื่อใช้สูตรยานี้ภายใน 49 วันหลังการปฏิสนธิ ประมาณร้อยละ 92
ของผู้ที่รับประทานยาครบตามสูตรยาผสมจะทำแท้งสำเร็จโดยไม่ต้องใช้ศัลยกรรม
ยามิโซโพรสตอลสามารถนำมาใช้เป็นยาเดี่ยวได้แต่มีประสิทธิภาพน้อยกว่าสูตรยาผสม
ในกรณีที่การทำแท้งด้วยยาล้มเหลวต้องมีการทำแท้งด้วยศัลยกรรมต่อเพื่อยุติการตั้งครรภ์
การทำแท้งด้วยศัลยกรรม
ในระยะ 12 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์
การใช้เครื่องสุญญากาศดูดเอ็มบริโอหรือทารกในครรภ์ออกเป็นวิธีการทำแท้งที่พบบ่อยที่สุด
เครื่องดูดสุญญากาศด้วยมือ (Manual vacuum aspiration : MVA หรือ mini-suction หรือ menstrual
extraction) จะดูดเอ็มบริโอหรือทารกในครรภ์ออกพร้อมรกและเยื่อหุ้มด้วยกระบอกฉีดยา
ในขณะที่เครื่องดูดสุญญากาศไฟฟ้า (electric vacuum aspiration : EVA) จะดูดด้วยแรงจากเครื่องดูดไฟฟ้า
วิธีการทั้งสองนี้คล้ายกันต่างแต่เพียงกลไกการดูด
อายุครรภ์น้อยที่สุดที่สามารถใช้ได้และความจำเป็นในการขยายขนาดปากมดลูก
เครื่องดูดสุญญากาศด้วยมือสามารถนำไปใช้ได้ในการตั้งครรภ์ระยะต้นๆและไม่ต้องขยายขนาดปากมดลูก
การทำแท้งในอายุครรภ์ 15-26 สัปดาห์ใช้วิธีถ่างขยายปากมดลูกแล้วถ่ายทารกในครรภ์ออก (dilation
and evacuation : D&E) ซึ่งทำโดยการถ่ายขยายปากมดลูกแล้วใช้เครื่องมือทางศัลยกรรมหรือเครื่องดูด
ดูดทารกในครรภ์ออก หรือใช้วิธีถ่างขยายปากมดลูกแล้วขูด (Dilation and
curettage : D&C) หรือการขูดมดลูก
ซึ่งคือการทำให้ผนังมดลูกเกลี้ยงด้วยเครื่องมือขูดและเป็นวิธีการที่ได้รับความนิยมรองลงมาในการทำแท้งด้วยศัลยกรรม
วิธีนี้เป็นหัตการพื้นฐานทางนรีเวชวิทยาเพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ เช่น
เก็บเยื่อบุโพรงมดลูกเพื่อส่งตรวจคัดกรองมะร็งเยื่อบุโพรงมดลูก เพื่อวินิจฉัยภาวะเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด
และเพื่อทำแท้ง
โดยองค์การอนามัยโลกแนะนำให้ใช้วิธีการขูดมดลูกเฉพาะเมื่อไม่มีเครื่องดูดสุญญากาศด้วยมือเท่านั้น
การทำแท้งในระยะไตรมาสที่สองต้องใช้วิธีอื่นๆ เช่น
การชักนำให้คลอดก่อนกำหนดด้วยยาพรอสตาแกลนดินซึ่งอาจให้ร่วมกับการฉีดสารความดันออสโมซิสสูงที่ประกอบด้วยน้ำเกลือ
หรือยูเรียเข้าในนำคร่ำ การทำแท้งที่อายุครรภ์มากกว่า 16 สัปดาห์อาจใช้วิธี partial-birth
abortion/intrauterine cranial decompression/intact dilation and
extraction : IDX ซึ่งมีการทำลายศีรษะทารกในครรภ์ด้วยวิธีทางศัลยกรรมก่อนถ่ายทารกในครรภ์ออก
นอกจากนี้ในระยะท้ายของการตั้งครรภ์อาจจะใช้วิธีการผ่ามดลูก (hysterotomy
abortion) ซึ่งมีวิธีการคล้ายกับการผ่าท้องคลอดขณะให้ยาสลบทั่วไป
โดยจะมีการเปิดแผลผ่าตัดเล็กกว่าการผ่าท้องคลอด
ราชวิทยาลัยสูติแพทย์และนรีแพทย์ได้แนะนำวิธีการฉีดยาเพื่อหยุดการทำงานของหัวใจทารกในครรภ์ในระยะแรกของการทำแท้งด้วยวิธีทางศัลยกรรมเพื่อให้แน่นอนว่าทารกในครรภ์จะไม่เกิดรอด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น